STUDENT WORKS CTE61
  • Home
  • material
  • Class work

แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Picture
          นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นวัตกรรมเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี ถ้าไม่เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีก็ไม่เกิด การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาบูรณาการใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษานั้น จำเป็นที่จะต้องทราบความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงควรทราบขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษาด้วย

ความหมายของนวัตกรรม

Picture
          นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Innovare แปลว่า to renew หรือto modify มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ดังนี้
ไมลส์   (Miles.1964 , อ้างอิงจาก เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์, 2545 : 7 ) อธิบายว่า นวัตกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายแน่นอน เพื่อให้ระบบงานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนิโคลส์ และจอร์จ (Nicholls and George, 1983 : 4) กล่าวว่านวัตกรรมเป็นความคิดใหม่มีเป้าหมายแน่นอน เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงสั้น ๆ เฉพาะจุดและต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ
      นวัตกรรม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ (วัสดุ อุปกรณ์) หรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ (อาจปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือดีขึ้น) ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และนวัตกรรมนั้นถ้านำมาใช้ในสายงานใดก็จะเรียกชื่อนวัตกรรมตามสายงานนั้น ๆ เช่นถ้านำมาใช้ทางการแพทย์ ก็เรียกว่านวัตกรรมทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ในวงการศึกษา ก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น และของสิ่งเดียวกันนี้ เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ(Over head) อาจเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนหนึ่งเพราะเพิ่งจะนำมาใช้ใหม่ไม่เคยมีใช้มาก่อน แต่กลับไม่ใช่นวัตกรรมของอีกโรงเรียนหนึ่งเพราะนำมาใช้นานแล้วจนหลอดฉายขาดไปหลายหลอดแล้ว ทั้งนี้ถ้าพิจารณาตามรูปศัพท์ จะพบว่า นวัตกรรม มาจากคำบาลี สันสกฤต นว(ใหม่) + อตต(ตัวเอง) + กรม(การกระทำ)แปลว่าการกระทำใหม่หรือของใหม่สำหรับตนเอง กระบวนการเกิดนวัตกรรม
การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ
          1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
          2. มีการตรวจสอบ หรือทดลอง และปรับปรุงพัฒนา
          3. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง
          การที่จะพิจารณาว่า สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอนมาตามที่กล่าวมาแล้ว อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นนวัตกรรม เพราะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น ขั้นที่สองมีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้ว และขั้นที่สามมีการนำมาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมา ขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริง เพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์ จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม
Picture

นวัตกรรมสู่เทคโนโลยี

          ​นวัตกรรมเมื่อถูกนำมาใช้จนเคยชินเป็นปกตินิสัยเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานแล้ว เช่นโรงเรียนมีการนำเครื่องฉายข้ามศีรษะ มาใช้ในการเรียนการสอนเป็นประจำจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานแล้วก็จะหมดสภาพความเป็นนวัตกรรมกลายเป็นเทคโนโลยีไป คือโรงเรียนมีการใช้เทคโนโลยีเครื่องฉายข้ามศีรษะในการเรียนการสอน
          เทคโนโลยีเมื่อถูกใช้ไปนาน ๆ หรือนำไปใช้ต่างสถานที่ ต่างเวลา ต่างโอกาส ก็อาจเกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องบางประการ เช่น อาจไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย ไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเป็นต้องมีการดัดแปลง ปรับปรุงหรือคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้น ให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การคิดค้นหรือปรับปรุงดัดแปลงขึ้นใหม่แล้วทดลองใช้จนได้ผลและน ามาใช้ในสถานการณ์จริง สิ่งนั้นก็กลายเป็นนวัตกรรมไป และนวัตกรรมนั้นเมื่อถูกใช้จนเป็นปกติวิสัย เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีไปอีกเป็นวัฏจักรหมุนเวียนกันไปนวัตกรรม ใช้เป็นส่วนหนึ่ง = เทคโนโลยี + พัฒนา ของระบบงาน
Picture
Picture

ความหมายของเทคโนโลยี

          เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Techne หมายถึงศิลปะ วิทยาศาสตร์หรือทักษะ (Art,Science or Skill) และมาจากคำภาษาลาตินว่า Texere มีความหมายว่าการสาน(to Weave) หรือการสร้าง (to Construct) ในภาษากรีกมีคำว่าTechnologia หมายถึงการกระทำอย่างมีระบบ (Systematic treatment)เมื่อพิจารณาจากรูปศัพท์ภาษาอังกฤษจะมีความหมายดังนี้
  • Techno แปลว่า วิธีการ
  • Logy แปลว่า วิชาหรือการศึกษาเกี่ยวกับ
          ดังนั้นเมื่อรวมคำแล้วเทคโนโลยีจึงหมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยเทคนิควิธีการหรือวิธีปฏิบัติโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษา


​

สรุป

          นวัตกรรม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ (วัสดุ อุปกรณ์) หรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ (อาจปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือดีขึ้น) ที่น ามาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นนวัตกรรมเมื่อถูกนำมาใช้จนเคยชินเป็นปกตินิสัยเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานแล้ว ก็จะหมดสภาพความเป็นนวัตกรรมกลายเป็นเทคโนโลยีไปเทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์เอา แนวความคิด หลักการ ทฤษฎี เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในวงการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพ (Efficiencey)ประหยัด (Economy) และมีประสิทธิผล (Productivity) เทคโนโลยีเมื่อถูกใช้ไปนาน ๆ หรือนำไปใช้ต่างสถานที่ ต่างเวลา ต่างโอกาส ก็อาจเกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องบางประการ เช่น อาจไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย ไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเป็นต้องมีการดัดแปลง ปรับปรุงหรือคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้น ให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การคิดค้นหรือปรับปรุงดัดแปลงขึ้นใหม่แล้วทดลองใช้จนได้ผลและน ามาใช้ในสถานการณ์จริง สิ่งนั้นก็กลายเป็นนวัตกรรมไป และนวัตกรรมนั้นเมื่อถูกใช้จนเป็นปกติวิสัยเป็นส่วนหนึ่งขงระบบงาน ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีไปอีก เป็นวัฏจักรหมุนเวียนกันไปพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นจากการนำวัสดุอุปกรณ์ซึ่งเป็นสื่อประเภทภาพและเสียงรวมถึงเทคนิควิธีการมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนการสอน และมีการนำสื่อหลาย ๆ อย่างมาใช้ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษา ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การสอน การฝึกหัด การจำลอง เกมเพื่อการสอน การค้นพบ การแก้ปัญหา และการทดสอบ ในแต่ละบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ประกอบในลักษณะของสื่อประสม และสื่อหลายมิติ ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีระบบโทรคมนาคมเข้ามาเสริม ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้ ในลักษณะการศึกษารายบุคคล การศึกษาเป็นกลุ่ม การศึกษามวลชน และสามารถจัดการศึกษาได้ ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Picture
Site powered by Weebly. Managed by WebsTriple.com
  • Home
  • material
  • Class work